เทคนิคการตกปลาช่อน 2 (ด้วยเหยื่อผิวน้ำ)

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ สมาชิก ชาว เอส.แอล.ฟิชชิ่งทุกท่าน จากที่ผมเองได้เคยเขียนเรื่องราวและวิธีการตกปลาช่อนให้หลาย ๆ คนได้อ่านกันไปแล้ว วันนี้ผมจะมาย้ำ หลักและวิธีในการตกปลาช่อน โดยการใช้เหยื่อผิวน้ำกันอีกสักหน่อยนะครับ โดยปกติแล้วปลาช่อนนั้น กินเหยื่อ จำพวก ปลาขนาดเล็ก ๆ  แมลงบางชนิด กบ หรือ เขียด ฯลฯ ซึ่งเหยื่อปลอมที่ออกมาวางขายกันในท้องตลาดนั้นก็จะทำรูปร่างให้มีลักษณะคล้าย ๆ กับเหยื่อตามธรรมชาติของปลาช่อน แต่ทำไมเหยื่อบางตัวปลาช่อนชอบกัด แต่บางตัวซื้อมาตั้งนานแล้ว เอาออกมาจากกล่องอุปกรณ์ตกปลาที่ไร กลับบ้านไปได้แห้วกลับบ้านเต็มกล่องเพราะเหยื่อตัวนั้นทุกที ในที่สุดเหยื่อตัวนั้นก็จะกลายเป็นเหยื่อก้นกล่อง และไม่ได้นำออกมาใช้งานอีกเลย (น่าเสียดายจริง ๆ ) เหยื่อผิวน้ำ เหยื่อผิวน้ำนั้นชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่าใช้งานอย่างไร นั้นก็คือการลากให้เหยื่อนั้น สร้างลักษณะท่าทาง(แอคชั่น) อยู่บนผิวน้ำทำให้ปลาเกิดความสนใจมากที่สุด การที่เราใช้เหยื่อปลอมในการตกปลานั้นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเหยื่อตามธรรมชาติของปลาช่อนนั้นก็คือ เรื่องของแอคชั่นที่แตกต่าง อีกทั้งยังเรื่องของกลิ่น หรือแม้แต่รสของเหยื่อ สิ่งเหล่านี้ผู้คิดค้นอุปกรณ์ตกปลานั้นได้เพิ่มขีดความสามารถด้านอื่น เพื่อลดสิ่งที่ขาดไปเมื่อเราใช้เหยื่อปลอมในการตกปลา ที่เห็นได้อย่างชันเจนและคิดว่าหลาย ๆ ท่านเองก็คงเคยเห็น หรืออาจจะเคยใช้งานมาแล้วก็ได้ เช่น การติดใบพัดไว้กับเหยื่อ เพื่อสร้างเสียง สร้างการแตกตัวของน้ำทำให้ปลาเกิดความสนใจ และพุ่งเข้ากัดเหยื่อ การใช้พู่สีต่าง…

อ่านต่อ

การตกปลากระพง

มาดูกันว่าเราสามารถตกปลากระพงได้ด้วยวิธีใดบ้าง จากการลองผิดลองถูก ทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และสามารถรู้วิธีและขั้นตอนในการทำสิ่งต่าง ๆ การตกปลาก็เช่นกัน เมื่อเราได้ลองผิดลองถูกก็ทำให้เราวิธีการในการตกปลา สำหรับวันนี้ผมมีวิธีการตกปลากระพง ในวิธีต่าง ๆ ที่ได้ทั้งการลองผิดลองถูกและได้รับฟังการคำบอกเล่าจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักตกปลาที่ได้รับประสบการณ์และนำมาถ่ายทอดกันมาเป็นวิทยาทาน   วิธีที่  1 ลอย   เป็นวิธีที่ยอดฮิตที่สุด เพราะปลากระพงเป็นปลาล่าเหยื่อกลางน้ำเสียส่วนใหญ่ แต่การลอยนั้นมีข้อเสีย คือ ถ้าแหล่งน้ำไหลเราจะไม่สามารถคงบคุมทิศทางของเหยื่อได้ตลอดเวลา เพราะทุ่นก็จะลอยไปตามกระแสน้ำ จึงต้องเก็บสายมาตีใหม่บ่อย ๆ นอกจากจะทำให้แขนเมื่อยแล้ว เหยื่อเองก็จะบอบช้ำและอาจจะตายเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสายเบ็ดอยู่ในแนวเดียวกับกระแสน้ำแล้วละก็ไม่มีปัญหาอะไร และการลอยยังมีข้อเสียอีกอย่างก็คือเหยื่อเป็นที่เรานำมาใช้จะว่ายน้ำไปหาที่หลบภัย พวกกอสวะ ดีไม่ดีอาจจะว่ายไปติดตอและทำให้เราเสียทั้งเบ็ดและเหยื่อเอาได้ง่าย ๆ วิธีที่ 2 จม    การตกปลาด้วยวิธีที่นี้อาจจะเป็นวิธีการที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ อาจจะเป็นเพราะความสะดวกไม่ยุ่งยากหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์บังคับ ตกแบบลอยไม่ได้เลยเปลี่ยนมาตกแบบจมแทน การตกแบบจมก็คือการใช้ตะกั่วถ่วงลงถึงพื้น วิธีนี้เราสามารถกำหนดจุดตกของเหยื่อได้แน่นอนตายตัว แต่ข้อเสียคืนพื้นที่ (ลานวิ่ง) ของเหยื่อจะค่อนข้างจำกัด อาจแก้ไจได้ด้วยการประกอบสายหน้าให้ยาวหน่อย นอกจากนี้เหยื่ออาจจะหลบภัยด้วยการฝังตัวลงในดินหรือถ้าเหยื่อเป็นก็จะทำให้ระยะเวลาของเหยื่อสั่นลงเพราะเหยื่อจะไม่สามรถขึ้นมาหายใจได้ทำให้เหยื่อตายเร็ว สองวิธีที่กล่าวมาการกินเหยื่อของปลาก็จะใกล้เคียงกันแล้วแต่ว่าวันไหนสภาพน้ำเป็นยังไง เพราะในการครั้งปลากระพงเองก็กินเหยื่อแบบจมบ้าง เหยื่อแบบลอย บ้างไม่แน่นอน วิธีที่ 3 ล่องลอย…

อ่านต่อ

วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1

วิธีการตกปลาช่อน ภาคที่ 1 สวัสดีครับวันนี้มีเทคนิคดี ๆ ในการตกปลาช่อนมาฝากกันครับ ผมว่าในที่นี้ถ้าเป็นคนไทยแล้วละก็คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าไม่รู้จักปลาชนิดนี้ เพราะปลาช่อนน้ำจืดเป็นที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทุกภาคของประเทศไทยอยู่แล้ว สำหรับใครที่ไม่รู้จักจริง ๆ แล้วละก็ผมมีภาพปลาช่อนมาให้ดูกันด้วยครับ เผื่อจะมีคนที่ไม่รู้จักจริง ๆ ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striata อยู่ในวงศ์ปลาช่อน(Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6 – 7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30 – 40 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนสปีชีส์นี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า ” ปลาช่อนจำศีล ” พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้ พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค…

อ่านต่อ

การตกปลาสลาด

ปลาสลาด ปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลากราย ที่แตกต่างออกไปก็คงเป็นเรื่องขนาดที่จะเล็กกว่าปลากลาย และจุดดำตามลำตัว ที่ปลาสลาดไม่มี ปลาสลาดเป็นปลาที่กินเนื้อ มักกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ เช่น กุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก ๆ และแมลง อย่างพวกตั๊กแตนเปลือกอ่อนขนาดเล็ก ๆ การตกปลาสลาดนั้นเป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่ตกสนุก เพราะปลามักจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำให้สามารถตกปลาได้หลาย ๆ ในจุดเดียว หากพื้นที่นั้น ๆ มีปลาสลาดอาศัยอยู่ ปลาสลาดจะกินเหยื่อค่อนข้างเร็ว ปลาสลาดเมื่อเข้าหาเหยื่อมักจะมาในระดับน้ำลึก ใกล้ ๆ กับท้องน้ำ หากสังเกตุดี ๆ เราจะเห็นฟองอากาศ ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำแสดงว่าปลาสลาดอยู่ในบริเวณนั้น หากมีฟองอากาศ ประมาณ 3 – 4 เม็ด ใกล้ ๆ เหยื่อของเรานั้น ก็ให้รู้ไว้เลยว่า โอกาสที่ปลาสลาดนั้นจะกินเหยื่อเป็นได้ค่อนข้างสูง   เหยื่อตกปลา สลาด 1. ตั๊กแตน อย่างที่ได้พูดไปแล้ว ตอนแรกว่า เป็นอาหารตามธรรมชาติของปลาสลาดอยู่การ เวลาเกี่ยวเหยื่อก็เด็ดปีกออกสักหน่อย แล้วค่อยเอาลงไปตก 2. กุ้งฝอย เหยื่อกุ้งฝอย…

อ่านต่อ