การตรวจสอบคันเบ็ด

10_1_~1

ก่อนออกตกปลานอกจากการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรอกตกปลา, คันเบ็ด, เหยื่อ ฯลฯ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนชอบมองข้ามนั้นก็คืออุปกรณ์นั้นยังอยู่ในสภาพที่สมบรูณ์พร้อมใช้งานอยู่หรือไม่นั้นเอง

ตรวจสอบคันเบ็ด

เมื่อความพร้อมของอุปกรณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญแต่กลับถูกมองข้ามโดยเฉพาะเรื่องของคันเบ็ด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วนักตกปลาจะให้ความสำคัญในเรื่องของรอกตกปลากันเสียส่วนใหญ่ วันนี้เลยจะขอพูดถึงเรื่องการตรวจสอบคันเบ็ดตกปลากันดูบ้าง ตกปลาครั้งต่อไปจะได้ไม่เสียท่า การตกปลานั้นหลาย ๆ คนอาจจะบอกว่าสายเอ็นที่ใช้งานนั้นไม่ดี เสื่อมสภาพบ้างแหละ เลยทำให้ไม่สามารถทนแรงดึงของปลาขนาดใหญ่ได้ (ปลาที่หลุดหรือขาด ไปนั้นมักจะมีขนาดใหญ่เสมอ) แต่ในความเป็นจริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจากคันเบ็ด เพราะไกด์ที่ติดอยู่ที่คันเบ็ดนั้นอาจจะถูกใช้งานมายาวนาน จนทำให้เกิดร่องขนาดเล็ก ๆ คม ๆ ร่องนี้แหละครับ จะส่งผลทำให้สายเอ็น หรือสายอะไรก็ตามที่เราใช้ตกปลานั้นขาดได้ เริ่มเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมละครับ

มาดูส่วนประกอบของคันเบ็ดกันสักหน่อยว่าคันเบ็ดประกอบด้วยอะไรกันบ้าง

1. ด้ามจับ เป็นส่วนที่นักตกปลานั้นต้องสัมผัสเป็นประจำ โดยตามจับนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน บนและล่าง โดยส่วนใหญ่แล้ว ด้ามจับส่วนล่างนั้นจะมีความยาวที่มากกว่า ด้ามจับส่วนบน โดยด้ามจับส่วนบนนั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อการจับด้วยมือเป็นหลัก (ทั้งมือซ้ายและมือขวา) หรือที่เรียกกันว่า Grip นั้นเอง ส่วนด้ามจับส่วนล่างนั้นจะใช้งานการจับหรือประคองด้วยช่วงแขนไปตามความยาวของด้าม หรือที่เรียกกันว่า butt

วัสดุที่นำมาผลิตตามจับนั้นมีด้วยกันหลายแบบ หลายหลากลาย ที่เห็นกันบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นพวกด้ามไม้ก๊อก ลายสวยงาม เป็นไม้เนื้อนิ่ม ไม่แข็ง เวลาจะให้ความรู้สึกกระด้างมือ ด้ามจับแบบนี้จะต้องคอยดูแล ทำความสะอาดทุกครั้งหลังตกปลาเสร็จ เพราะราคาของคันที่เป็นด้ามไม้ก๊อกนั้น จะมีราคาค่อนข้างแพงหน่อย

วัสดุตัวต่อมาที่เห็นนำมาผลิตด้ามคันเบ็ด ก็คือ ยางนีโอพรีน โดยปัจจุบันนั้นนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยราคาค่าตัวที่ถูก และสามารถใช้งานได้ดี ดูแลรักษาง่าย ล้างน้ำก็เสร็จแล้ว ที่หายไปก็น่าจะในส่วนของความสวยงามเท่านั้น

วัสดุตัวสุดท้าย ปัจจุบันนั้นอาจจะหาดูได้ยากหน่อย นั้นก็คือด้ามที่ผลิตจากไม้จริง การผลิตนั้นค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลา อีกทั้งน้ำหนักของคันจะมีค่อนข้างมาก ที่ได้มาก็น่าจะเป็นในส่วนของความทนทาน

2. แบงค์ เป็นส่วนสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ โดยส่วนของแบงค์คันนั้น เป็นส่วนที่จะสร้างแอคชั่นของคันเบ็ด ส่วนการเลือกใช้งานนั้นขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้งานอย่างไร

3. ไกด์ นั้นจะมีอยู่ด้วยกันอยู่หลายแบบ เช่นไกด์รูปวงแหวน จะสังเกตได้ว่าในคันสปินหนึ่ง ไกด์ตัวแรกนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าคันประเภทอื่น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า คันสปินนิ่งนั้น เวลาที่เราหมุนสายเบ็ดเพื่อเก็บสายเข้ามาในรอกสายจะถูกแขนกว้านหมุนดึงเข้ามาจะทำให้เกิดเกลียว จะเป็นลักษณะคล้ายเกลียวรูปกรวย ไกด์ที่มีมุมกว้างๆ จึงช่วยลดการแรงของการหมุนได้
วัสดุในการทำวงไกด์นั้นมีอยู่หลายอย่างเช่น เซรามิค ซิลิคอนคาร์ไบด์ ทองเหลือง อลูมินั่มออกไซด์
รูปร่างของไกด์นั้นมีอยู่สองแบบคือ ไกด์ชนิด 2 ขา และ ไกด์ชนิด 1 ขา ส่วนมากแล้วเราจะพบเห็นไกด์ชนิด 2 ขามากกว่าคันเบ็ดที่มีขาเดียว เพราะว่าความนิยมของคนไทยชอบความแข็งแรง ไกด์สองขานั้นสามารถที่จะสร้างความแข็งแรงให้กับคันเบ็ดได้เพิ่มขึ้นอีก แต่น้ำหนักนั้นย่อมจะมากตามไปด้วย ไกด์ชนิดขาเดียวนั้น อาจจะมีน้ำหนักเบากว่าแต่ข้อดีก็คือไม่ทำให้ความอ่อนหรือแอคชั่นในคันเบ็ดเสียไป
ไกด์ปลายนั้นมีลักษณะเดียวกันหมด ในคันสปินนิ่งและอื่นๆ ไกด์ย่อมเป็นส่วนประกอบที่ทำให้คันเบ็ดนั่นมีความสวยงามมากขึ้น และทำให้สามารถที่จะเพิ่มราคากับผู้ผลิตได้อีกอย่างงามด้วย

การตรวจสอบคันเบ็ดนั้นมาเริ่มต้นกันเลยดีกว่า

1. ตรวจสอบไกด์ ตรวจดูว่าไกด์ของเรานั้นมีร่องที่เกิดจากสายหรือไม่ ถ้ามีก็ควรเปลี่ยนใหม่โดยเฉพาะไกด์ตัวแรกตรงปลายคัน ดูว่าแหวนยางด้านในเกิดหลุดหลายไปหรือไม่ การยึดติดกับแบงค์นั้นสมบรูณ์อยู่หรือไม่ ถ้าไม่แน่นให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน

2. ตรวจสอบแบงค์ คันเบ็ดนั้นแบงค์จะมีการงอตัวรับแรงดึงจากการตกปลาอยู่ตลอด การใช้งานที่ไม่ถูกต้องหรือการเก็บรักษาที่ไม่ดีพอ ก็จะทำให้วัสดุนั้นเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร การตรวจสอบให้ดูด้วยสายตาว่ามีการแตกลายงา หรือมีรอยแตก ถ้าเป็นเยอะอาจจะต้องเปลี่ยนแบงค์ใหม่ หรืออาจจะต้องเก็บไว้ดูเล่นเลยก็ได้ เพราะถ้ายังผืนใช้งานต่อไปคันเบ็ดนั้นจะทำให้เราเสียโอกาส หรือไม่ก็หัก ต่อหน้าต่อตาเลยก็ได้

3. การตรวจสอบด้ามจับ ด้ามจับนั้นถือว่าเป็นส่วนที่ส่งผลค่อนข้างน้อยก็ให้ดูแลทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็เพียงพอแล้ว

Leave a Reply